วันเสาร์ที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2556

ปลาช่อน5

การเลี้ยงปลาช่อนในนาข้าว

สวัสดีวันสดใสค่ะ ผู้เยื่ยมชมบล็อกของเรา วันนี้จะนำสาระเกษตรมาถ่ายทอดให้กับเกษตรกรผู้ชอบเลี้ยงปลาและการใช้ประโยชน์จากนาข้าว สำหรับผู้ที่อยากจะศึกษาเกี่ยวกับเรื่องนี้ รวมทัังเกษตรกรที่เลี้ยงอยู่แล้วค่ะ สาระเรื่องนี้นำมาจาก เอกสารคำแนะนำของกรมประมง และเจ้าของบล็อกก็จะแทรกรูปแบบที่น่าจะเป็นประโยชน์สำหรับผู้อ่านและผู้สนใจค่ะ ติดตามกันค่ะ....

ปกติระหว่างฤดูทำ นาในระยะที่นํ้า เอ่อนองเข้าผืนนา ปลาจากแหล่งนํ้าธรรมชาติจะแพร่กระจายจากแม่นํ้า ลำ คลอง เข้าไปอาศัยเลี้ยงตัวและเจริญเติบโตในแปลงนาปีหนึ่งๆ เฉลี่ยแล้วประมาณ 4กิโลกรัมเศษต่อไร่ ด้งนั้นหากชาวนาจะคิดดัดแปลงผืนนาของตนที่ใช้ปลูกข้าวอยู่ให้มีการเลี้ยงปลาในผืนนาควบคู่ไปด้วยแล้ว นาข้าวซึ่งเคยได้ปลาเป็นผลพลอยได้พิเศษอยู่ก่อนเพียงเล็กน้อย ก็จะให้ผลผลิต

ปลาเพิ่มขึ้นเป็น 20 กิโลกรัมต่อไร่หรือกว่านั้น โดยที่ประเทศไทยมีเนื้อที่นาทั่วทั้งประเทศประมาณ 43ล้านไร่ หากสามารถคิดใช้ผืนนาให้เป็นประโยชน์นอกเหนือจากการปลูกข้าวแต่อย่างเดียวเพียงแค่ 1 ใน 100 ของเนื้อที่นาทั่วประเทศ โดยคัดเลือกแปลงนาที่เหมาะสม ดัดแปลงและปรับปรุงเพื่อใช้เลี้ยงปลาควบคู่ไปกับการทำ นา โดยปฏิบัติให้ถูกต้องตามหลักวิชาแล้วในปีหนึ่งๆ จะได้ผลผลิตจากปลาเพิ่มขึ้น เป็นจำนวนหมื่นๆ ตัน ซึ่งวิธีการนี้เป็นการเพิ่มอาหารและรายได้บนผืนนาเดิมของพี่น้องชาวไทยนั่นเองและจากวิธีการดังกล่าวนี้ก็

จะเป็นการเพิ่มปริมาณสัตว์นํ้าให้ได้มากพอกับความต้องการของประเทศอีกด้วย


การเลี้ยงปลาในนานั้นมิใช่เป็นของใหม่ ประเทศต่างๆ ในภูมิภาคเอเชียเลี้ยงปลาในนาข้าว
ได้ผลดีกันมาเป็นเวลานานแล้ว เช่นที่ประเทศญี่ปุ่น ไต้หวัน และอินโดนีเซีย ในประเทศเราได้เริ่มทำ กันมาตั้งแต่ พ.ศ. 2491 แต่เพิ่งจะสนใจเลี้ยงกันอย่างแพร่หลายเพียงไม่กี่ปีมานี้เอง


ประโยชน์จากการเลี้ยงปลาในนาข้าว
1. ชาวนาสามารถใช้ประโยชน์จากผืนนาได้เต็มที่ ตามปกติในผืนนาจะมีอาหารธรรมชาติ ซึ่งได้แก่พืชและสัตว์เล็กๆ ทั้งที่ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าและที่ปรากฏอยู่ทั่วไป อาหารธรรมชาติเหล่านี้ตามปกติแล้วมิได้มีการใช้ประโยชน์แต่อย่างใด ยิ่งถ้าหากชาวนาทำ นาตามแบบที่ทางราชการแนะนำ คือมีการใส่ปุ๋ยในแปลงนาด้วยแล้วอาหารธรรมชาติจะยิ่งสมบูรณ์มากขึ้น แต่อาหารธรรมชาติอันมีคุณค่านี้ถูกทอดทิ้งโดยมิได้ใช้ให้เป็นประโยชน์แต่อย่างใด หากชาวนาสนใจหันมาเลี้ยงปลาในนาข้าว ปลาที่เลี้ยงก็จะสามารถใช้อาหารธรรมชาติอันเป็นอาหารของปลาโดยเฉพาะให้เป็นประโยชน์อย่าง

คุ้มค่า โดยเปลี่ยนเป็นอาหารจำ พวกโปรตีนในรูปของเนื้อปลาให้แก่เจ้าของนาและผู้เลี้ยงตลอดจนอาจเพิ่มรายได้ให้อีกทางหนึ่งด้วย
2. ปลาช่วยกำ จัดวัชพืช ชาวนาย่อมตระหนักดีถึงความยุ่งยากในการกำ จัดวัชพืชที่ขึ้นรกในแปลงนาในระหว่างทำ นา วัชพืชจะแย่งอาหารจากต้นข้าว ทำ ให้ต้นข้าวเจริญเติบโตได้ไม่เต็มที่ นาจะให้ผลผลิตตํ่า ชาวนาจะต้องเสียทั้งเวลาและเหน็ดเหนื่อยในการกำ จัดวัชพืชดังกล่าว หากมีการเลี้ยงปลาในนาข้าวแล้ว ปลาจะช่วยกำ จัดโดยกินวัชพืชนานาชนิดในแปลงนาเป็นอาหาร โดยชาวนาไม่ต้องเหน็ดเหนื่อยอีกด้วย


3. ปลาช่วยกำ จัดศัตรูของต้นข้าว หนอนและตัวอ่อนของแมลงชนิดที่อยู่ในนํ้าและที่ร่วงหล่นลงไปในนาอันเป็นศัตรูร้ายแรงของต้นข้าว จะกลับเป็นอาหารวิเศษสุดของปลา



4. ปลาช่วยพรวนดินในนา จากการที่ปลาว่ายวนเวียนในนํ้ารอบๆ กอข้าวบนผืนนา การเคลื่อนไหวของครีบและหางปลาจะช่วยพัดโบกมวลดินในผืนนามิให้ทับอัดกันแน่น อันเป็นเสมือนการพรวนดินให้แก่ต้นข้าว ซึ่งจะช่วยทำ ให้ต้นข้าวเจริญงอกงามขึ้นกว่าปกติ


5. ปลาช่วยเพิ่มปุ๋ย มูลและสิ่งขับถ่ายจากปลาซึ่งประกอบด้วยธาตุไนโตรเจนและอื่นๆ จะเป็นปุ๋ยโดยตรงสำ หรับต้นข้าว


6. การเลี้ยงปลาในนาข้าว ช่วยเพิ่มผลผลิตข้าวให้สูงขึ้นกว่าการปลูกข้าวแต่เพียงอย่างเดียว


การเลือกสถานที่
ผืนนาทุกแห่งมิใช่จะเหมาะสมต่อการเลี้ยงปลาในนาเสมอไปการเลี้ยงปลาในนาข้าวจึงมักจะมีอุปสรรคอยู่เสมอ โดยเฉพาะในเรื่องนํ้า เช่นในบางท้องที่อาศัยเฉพาะนํ้าฝน หรือบางที่ชาวนาไม่สามารถรักษาระดับนํ้าในผืนนาไว้ได้ตลอดระยะเวลาที่ต้องการ ดังนั้น หากเพียงแต่นาที่จะเลี้ยงปลาสามารถเก็บกักนํ้าในผืนนาไว้ให้ได้มากกว่าปกติเพียงประมาณ 1-2 คืบ (30 เซนติเมตร) เป็นอย่างน้อย ตลอดฤดูกาลทำ นาและทั้งสามารถที่จะเลี้ยงปลาในนาได้ผลดี จึงควรที่จะยึดหลักในการเลือกผืนนาให้มีสภาพดังนี้

1. อยู่ใกล้แหล่งนํ้า หนอง บึง ลำ ราง ทางนํ้าไหลที่สามารถนำ นํ้าเข้าแปลงนาได้ แปลงนาที่อาศัยนํ้าฝนทำ นาแต่เพียงอย่างเดียวควรเก็บกักนํ้าได้ไม่น้อยกว่า 90 วัน

2. ไม่เป็นที่ลุ่มจนนํ้าท่วม หรือที่ดอนเกินไปจนไม่สามารถเก็บกักนํ้าได้

3. สะดวกต่อการดูแลรักษา

4. พื้นที่ที่ปลูกข้าวได้ผลดีจะสามารถดัดแปลงมาทำ การเลี้ยงปลาควบคู่กับการปลูกข้าวได้ดี
ขนาดของแปลงนาข้าวแปลงนาที่เลี้ยงปลาในนาข้าว จะมีขนาดและรูปร่างอย่างไรก็ได้ แล้วแต่ความเหมาะสมของพื้นที่และความพร้อมของผู้เลี้ยง แต่แปลงนาขนาดตั้งแต่ 5 ไร่ ขึ้นไปจะมีความเหมาะสมและให้ผลตอบแทนที่คุ้มค่า
การเตรียมแปลงนาข้าว
การเตรียมแปลงนาเพื่อใช้เลี้ยงปลาในผืนนาไปด้วยนั้น ควรเตรียมให้เสร็จก่อนระยะเตรียมดิน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น