วันเสาร์ที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2556

ปลาช่อน7

ในวัยเด็ก พลอยโพยมไม่ค่อยได้พบเห็นปลากระสงบ่อยนัก และแม้แต่ในปัจจุบันนี้ การพบเห็นปลากระสงมักคู่กับคำว่า มีปลากระสงหลงมา



ปลาช่อนงูเห่า

ช่อนงูเห่า (ชื่อสามัญ)
GREAT SNAKE-HEAD FISH (ชื่อสามัญภาษาอังกฤษ)
Channa marulius (ชื่อวิทยาศาสตร์)


ลักษณะทั่วไป
ปลาช่อนงูเห่า ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง ไม่จัดว่าเป็นปลาเศรษฐกิจ เนื่องจากเป็นปลาหายาก พบไม่บ่อยนักในธรรมชาติ มีลักษณะลำตัวค่อนข้างกลมยาว ทรงกระบอกคล้ายปลาช่อน แต่หัวมีขนาดเล็กและแบนกว่าปลาช่อน สีลำตัวจะเปลี่ยนไปตามวัยและสภาพแวดล้อม ปกติพื้นลำตัวจะเป็นสีคล้ำเช่น น้ำตาลแกมเขียว หรือสีดำ เกล็ดมีสีดำขอบขาวสลับบนและล่างของเส้นข้าง

เมื่อยังเป็นลูกปลาจะมีแถบสีส้มคาดตามความยาวจากหัวจรดโคนหาง โดยบริเวณโคนหางจะมีจุดสีดำขอบขาวขนาดใหญ่ล้อมรอบด้วยวงสีส้มสด แลดูคล้ายเครื่องหมายดอกจันทน์ จึงมีอีกชื่อเรียกหนึ่งว่า "ปลาช่อนดอกจันทน์" เมื่อปลาเริ่มโตขึ้น จะมีแถบดำราว 5-6 แถบคาดขวางลำตัวส่วนที่อยู่ค่อนไปทางท้าย ใต้ท้องสีจาง ลำตัวด้านท้าย ครีบหลัง หาง และครีบท้องจะมีจุดสีตะกั่วเหลือบแวววาวกระจายอยู่ทั่ว

ปลาช่อนชนิดนี้ มีขนาดโตเต็มที่ราว 40-90 เซนติเมตร มีรูปร่างเรียวยาวกว่าปลาช่อนชนิดอื่น ๆ ประกอบกับส่วนหัวที่เล็ก ทำให้แลดูคล้ายงูเห่า จึงเป็นที่มาของชื่อ "ปลาช่อนงูเห่า"



ปลาช่อนงูเห่า

คำร่ำลือที่ว่าปลาช่อนงูเห่า เป็นปลาซึ่งมีพิษร้ายแรง หากกัดผู้ใดก็จะได้รับอันตรายถึงแก่ชีวิตได้นั้น ไม่เป็นความจริงแต่ประการใด หากนำมาขังร่วมกับปลาช่อน จะถูกปลาช่อนไล่กัดจนตาย
เมื่อชาวบ้านจับปลาชนิดนี้ได้ บางคนไม่กล้ากินเนื่องจากเชื่อว่าเป็นปลาช่อนผสมงูเห่า มีพิษร้ายแรงกว่างูเห่าทั่วไป แต่ความเป็นจริงแล้ว ช่อนงูเห่าไม่ได้มีพิษแต่อย่างใด

มีการกระจายพันธุ์ในไทย, กัมพูชา, มาเลเซีย
ในไทยตามแหล่งน้ำไหล เช่น แม่น้ำ ลำคลองซึ่งมีพื้นเป็นกรวดและหิน ในแถบภาคกลางพบที่จังหวัดกาญจนบุรี เรียกว่า อ้ายล่อน ทางภาคเหนือพบที่จังหวัดตาก และในลุ่มน้ำปิง ผู้คนในแถบนั้นเรียกว่าปลาช่อนดอกจันทร์
เนื่องจากมีลายเป็นปื้นคล้ายดอกจันเรียงเป็นแนวอยู่ที่ด้านข้างลำตัว เนื้อมีรสดีคล้ายกับเนื้อปลาช่อน ด้วยลำตัวที่มีขนาดใหญ่ ซึ่งเมื่อโตเต็มที่ยาวร่วม 1 เมตร จึงได้ชื่อเป็นภาษาอังกฤษว่า Great snake – head mullet


โดยพฤติกรรมมักอยู่อาศัยตามแม่น้ำชายฝั่งที่มีพืชน้ำและพรรณไม้ขึ้นชายฝั่งมีเงาร่ม อาหารได้แก่ ปลา, กุ้ง, สัตว์น้ำขนาดเล็กและสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำขนาดเล็ก เช่น กบ, เขียด รวมถึงแมลงชนิดต่าง ๆ ด้วย
อุปนิสัยเป็นปลาที่ค่อนข้างดุร้ายก้าวร้าว โดยมักจะกบดานตัวนิ่ง ๆ กับพื้นท้องน้ำหรือไม่ก็ลอยตัวอยู่ปริ่มน้ำ เมื่อพบอาหารจะพุ่งฉกด้วยความเร็วและดุดัน
อาหาร

กินปลา ลูกกุ้งและสัตว์น้ำ

ปลาช่อนงูเห่า นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามที่มีขายในตลาดปลาสวยงามเป็นบางครั้ง
มีชื่อเรียกในภาษาถิ่นต่าง ๆ เช่น "หลิมหางกวั๊ก" ที่ จังหวัดแม่ฮ่องสอน "ก้วน" ในภาษาเหนือและภาษาอีสาน "ล่อน", "กะล่อน" หรือ "อ้ายล่อน" ในภาษาใต้ เป็นต้น[1]
ประโยชน์

เนื้อใช้ปรุงเป็นอาหารมีรสชาติดี คล้ายเนื้อปลาช่อน

ข้อมูลจาก ภาพปลาและสัตว์น้ำของไทย และวิกิพีเดีย



ภาพจากอินเทอร์เนท

ปลาช่อนข้าหลวง
ปลาช่อนข้าหลวง เป็นชื่อของปลาช่อนชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Channa marulioides อยู่ในวงศ์ปลาช่อน (Channidae) มีลักษณะคล้ายปลาช่อนงูเห่า (C. aurolineatus) แต่ลำตัวสั้นป้อมกว่า ลำตัวสีเขียวอ่อน และมีลายสีเหลืองทองส้มสลับกับแต้มสีดำ ครีบมีจุดประสีเหลืองสด ท้องสีจาง
ขนาดโตเต็มที่มีความยาวประมาณ 90 เซนติเมตร ในประเทศไทยพบเฉพาะภาคใต้เท่านั้น โดยพบชุกชุมบริเวณเขื่อนรัชชประภา และพบไปจนถึงมาเลเซีย มักอาศัยตามแม่น้ำสายใหญ่หรือลำธารขนาดใหญ่ในป่าหรือพรรณไม้ชายฝั่งหนาแน่น โดยจะหลบอยู่ใต้ร่มเงาของไม้นั้น
เป็นปลาที่พบได้ไม่ยาก แต่นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามมากกว่าจะนำมาบริโภค และมีราคาขายที่ค่อนข้างสูง
ปลาช่อนข้าหลวง ยังมีชื่อที่เรียกกันในเขตจังหวัดนราธิวาสว่า "ช่อนทอง" [1]


ภาพจากกรมประมง


เห็นภาพปลาสวยงามชัดเจน (ภาพที่บอกที่มาของภาพ ) หลายๆภาพ แล้ว เขินกับภาพถ่ายฝีมือของตัวเองมาก แต่เมื่อถ่ายมาด้วยความวิริยะ อุตสาหะ และความยากลำบาก อย่างยิ่งยวดแล้ว ก็ต้องหักความอายกันละค่ะ
คุณปลาๆ ทั้งหลาย ไม่ค่อยอยู่นิ่งแค่ยกกล้องขึ้น คุณปลาก็เฉี่ยวโฉบ ไปมา เสียแล้ว ตากล้องหัดใหม่ เลือกเมนูการใช้กล้องก็ยังไม่เป็น เหงื่อตกทุกรอบทั้งที่แอร์เย็นเฉียบ
ยังไม่พบปลาตัวไหนน่ารักเหมือนปลากระสงตัวน้อย ที่อ่านพบมา จาก Bloggang เลยสักครั้งเดียว

ปลาช่อน6


ปลากระสง

ลักษณะทั่วไป
ปลากระสง เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง
มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Channa lucius อยู่ในวงศ์ปลาช่อน (Channidae) มีรูปร่างคล้ายปลาช่อน (Channa striata) แต่มีขนาดเล็กกว่า

มีส่วนหัวที่แบนกว่า จะงอยปากงอนขึ้นเล็กน้อย และมีรูปร่างที่ป้อมสั้นกว่า ลำตัวตอนบนสีน้ำตาลแก่ และมีจุดดำทั่วไป ข้างลำตัวมีแถบสีดำขวางลำตัวประมาณ 12 แถบ ท้องสีเหลืองจาง ครีบทุกครีบสีดำ บางถิ่นสีสันบริเวณลำตัวเป็นสีเขียวมะกอกมีลวดลายคล้ายลายไม้


ลูกปลาขนาดเล็กมีพฤติกรรมอยู่เป็นฝูง มีลายแถบดำพาดตามแนวนอนตลอดตัว มีสีแดง
มีความยาวเต็มที่ประมาณ 40 เซนติเมตร


พบได้ในแหล่งน้ำนิ่งและแหล่งน้ำขนาดใหญ่ พบทั่วไปตามแม่น้ำ ลำคลอง หนองบึง
รวมถึงในบริเวณพื้นที่ป่าพรุด้วยทั่วประเทศไทย บึง มีชุกชุมในภาคกลาง
และประเทศเพื่อนบ้าน

อาหาร

กินลูกปลา ลูกกุ้ง และสัตว์น้ำชนิดอื่น ๆ ซึ่งมีชีวิต

ประโยชน์


นิยมเอามาบริโภคสดและตากแห้งเหมือนปลาในวงศ์ปลาช่อนทั่วไป อีกทั้งสามารถเลี้ยงเป็นปลาสวยงามได้เพราะมีสีสันสวยงาม
ปลากระสง ยังมีชื่อเรียกอื่น ๆ อีก เช่น "กระจอน" ในภาษาอีสาน "ช่อนไช" ในภาษาใต้

ข้อมูลจาก ภาพปลาและสัตว์น้ำเมืองไทย และวิกิพีเดีย



ปลากระสง

ปลากระสงมีอวัยวะพิเศษเหนือบริเวณเหงือกช่วยในการหายใจ ปกติตัวเมียมีขนาดใหญ่กว่าตัวผู้
อุปนิสัย
ชอบอาศัยอยู่ตามลำพัง ปกติจะเคลื่อนตัวช้าอยู่ใกล้ผิวน้ำบริเวณชายฝั่งที่มีพืชน้ำ และค่อย ๆ โผล่ขึ้นฮุบอากาศเป็นครั้งคราวเพื่อเก็บไว้หายใจ




ปลากระสง
ภาพจาก http://www.petfamilyonline.com


เป็นที่นิยมในการเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม และมีข้อมูลจากผู้ที่เลี้ยงปลากระสงดังนี้


ปลากระสงขนาดเล็กนั้น สีสัน และลวดลายจะยังไม่ชัดเจน ลำตัวมีสีน้ำตาลอ่อน ถึงเข้ม และมีขีดดำพาดผ่านตลอดแนวลำตัวมองเห็นชัดเจน ในช่วงแรกเกิดถึงขนาดประมาณ 2 นิ้ว จะอยู่รวมกันเป็นฝูง (ลูกครอก) เหมือนปลาช่อน โดยมีพ่อ และแม่ปลา คอยให้ความคุ้มครอง จากปลาชนิดอื่นที่จะเข้ามากินลูกปลา แต่เมื่อขนาด 3 นิ้วขึ้นไป จะเริ่มหากินเอง และแยกตัวสันโดษ

อาหารของลูกปลาในวัยนี้ ก็ได้แก่พวก ลูกน้ำ, ไรทะเล, แมลงขนาดเล็กต่างๆ และจะเปลี่ยนไปตามขนาดของตัวปลา โดยที่เราสามารถฝึกปลาให้กินอาหารสด เช่นกุ้งขาวหั่นชิ้นเล็กๆ หรือกุ้งฝอยแช่แข็งได้ การให้อาหารแก่ลูกปลาเล็กที่เลี้ยงรวมกันเป็นฝูง จะทำให้ปลาเชื่องเร็ว และกินอาหารดีขึ้น เพราะแย่งกันกิน...


ปลากระสง ขนาดเล็กสามารถปรับตัวให้คุ้นกับสถานที่เลี้ยงได้รวดเร็วเป็นอย่างดี และสามารถฝึกให้กินอาหารได้หลายชนิด รวมทั้งอาหารเม็ด ได้อีกด้วย (สำหรับปลาที่โตแล้ว (ปลาที่จับจากแหล่งน้ำธรรมชาติ) จะใช้เวลาที่มากกว่า) และหากเลี้ยงตั้งแต่ขนาดเล็ก จะคุ้นเคยกับเจ้าของ และแค่เราเดินผ่าน ปลากระสงก็ชะเง้อมอง ขออาหาร

ปลากระสงก็เหมือนปลาตระกูลปลาช่อนทั่วไป คือกระโดดเก่ง ตู้ที่เลี้ยงจำเป็นที่จะต้องมีฝาปิดมิดชิด ควรหาวัสดุปิดช่องกรองให้เรียบร้อย เพื่อป้องกันการกระโดดเข้าไปแห้งตาย

ข้อมูลจาก

http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=genus&month=06-2007&date=22&group=3&gblog=2

จากข้อมูลของ bloggang นี้ ปลากระสงตัวน้อยที่ชะเง้อมองเจ้าของหรือคนเลี้ยงเพื่อขออาหาร ช่างน่าเอ็นดูจริงๆ

ปลาช่อน5

การเลี้ยงปลาช่อนในนาข้าว

สวัสดีวันสดใสค่ะ ผู้เยื่ยมชมบล็อกของเรา วันนี้จะนำสาระเกษตรมาถ่ายทอดให้กับเกษตรกรผู้ชอบเลี้ยงปลาและการใช้ประโยชน์จากนาข้าว สำหรับผู้ที่อยากจะศึกษาเกี่ยวกับเรื่องนี้ รวมทัังเกษตรกรที่เลี้ยงอยู่แล้วค่ะ สาระเรื่องนี้นำมาจาก เอกสารคำแนะนำของกรมประมง และเจ้าของบล็อกก็จะแทรกรูปแบบที่น่าจะเป็นประโยชน์สำหรับผู้อ่านและผู้สนใจค่ะ ติดตามกันค่ะ....

ปกติระหว่างฤดูทำ นาในระยะที่นํ้า เอ่อนองเข้าผืนนา ปลาจากแหล่งนํ้าธรรมชาติจะแพร่กระจายจากแม่นํ้า ลำ คลอง เข้าไปอาศัยเลี้ยงตัวและเจริญเติบโตในแปลงนาปีหนึ่งๆ เฉลี่ยแล้วประมาณ 4กิโลกรัมเศษต่อไร่ ด้งนั้นหากชาวนาจะคิดดัดแปลงผืนนาของตนที่ใช้ปลูกข้าวอยู่ให้มีการเลี้ยงปลาในผืนนาควบคู่ไปด้วยแล้ว นาข้าวซึ่งเคยได้ปลาเป็นผลพลอยได้พิเศษอยู่ก่อนเพียงเล็กน้อย ก็จะให้ผลผลิต

ปลาเพิ่มขึ้นเป็น 20 กิโลกรัมต่อไร่หรือกว่านั้น โดยที่ประเทศไทยมีเนื้อที่นาทั่วทั้งประเทศประมาณ 43ล้านไร่ หากสามารถคิดใช้ผืนนาให้เป็นประโยชน์นอกเหนือจากการปลูกข้าวแต่อย่างเดียวเพียงแค่ 1 ใน 100 ของเนื้อที่นาทั่วประเทศ โดยคัดเลือกแปลงนาที่เหมาะสม ดัดแปลงและปรับปรุงเพื่อใช้เลี้ยงปลาควบคู่ไปกับการทำ นา โดยปฏิบัติให้ถูกต้องตามหลักวิชาแล้วในปีหนึ่งๆ จะได้ผลผลิตจากปลาเพิ่มขึ้น เป็นจำนวนหมื่นๆ ตัน ซึ่งวิธีการนี้เป็นการเพิ่มอาหารและรายได้บนผืนนาเดิมของพี่น้องชาวไทยนั่นเองและจากวิธีการดังกล่าวนี้ก็

จะเป็นการเพิ่มปริมาณสัตว์นํ้าให้ได้มากพอกับความต้องการของประเทศอีกด้วย


การเลี้ยงปลาในนานั้นมิใช่เป็นของใหม่ ประเทศต่างๆ ในภูมิภาคเอเชียเลี้ยงปลาในนาข้าว
ได้ผลดีกันมาเป็นเวลานานแล้ว เช่นที่ประเทศญี่ปุ่น ไต้หวัน และอินโดนีเซีย ในประเทศเราได้เริ่มทำ กันมาตั้งแต่ พ.ศ. 2491 แต่เพิ่งจะสนใจเลี้ยงกันอย่างแพร่หลายเพียงไม่กี่ปีมานี้เอง


ประโยชน์จากการเลี้ยงปลาในนาข้าว
1. ชาวนาสามารถใช้ประโยชน์จากผืนนาได้เต็มที่ ตามปกติในผืนนาจะมีอาหารธรรมชาติ ซึ่งได้แก่พืชและสัตว์เล็กๆ ทั้งที่ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าและที่ปรากฏอยู่ทั่วไป อาหารธรรมชาติเหล่านี้ตามปกติแล้วมิได้มีการใช้ประโยชน์แต่อย่างใด ยิ่งถ้าหากชาวนาทำ นาตามแบบที่ทางราชการแนะนำ คือมีการใส่ปุ๋ยในแปลงนาด้วยแล้วอาหารธรรมชาติจะยิ่งสมบูรณ์มากขึ้น แต่อาหารธรรมชาติอันมีคุณค่านี้ถูกทอดทิ้งโดยมิได้ใช้ให้เป็นประโยชน์แต่อย่างใด หากชาวนาสนใจหันมาเลี้ยงปลาในนาข้าว ปลาที่เลี้ยงก็จะสามารถใช้อาหารธรรมชาติอันเป็นอาหารของปลาโดยเฉพาะให้เป็นประโยชน์อย่าง

คุ้มค่า โดยเปลี่ยนเป็นอาหารจำ พวกโปรตีนในรูปของเนื้อปลาให้แก่เจ้าของนาและผู้เลี้ยงตลอดจนอาจเพิ่มรายได้ให้อีกทางหนึ่งด้วย
2. ปลาช่วยกำ จัดวัชพืช ชาวนาย่อมตระหนักดีถึงความยุ่งยากในการกำ จัดวัชพืชที่ขึ้นรกในแปลงนาในระหว่างทำ นา วัชพืชจะแย่งอาหารจากต้นข้าว ทำ ให้ต้นข้าวเจริญเติบโตได้ไม่เต็มที่ นาจะให้ผลผลิตตํ่า ชาวนาจะต้องเสียทั้งเวลาและเหน็ดเหนื่อยในการกำ จัดวัชพืชดังกล่าว หากมีการเลี้ยงปลาในนาข้าวแล้ว ปลาจะช่วยกำ จัดโดยกินวัชพืชนานาชนิดในแปลงนาเป็นอาหาร โดยชาวนาไม่ต้องเหน็ดเหนื่อยอีกด้วย


3. ปลาช่วยกำ จัดศัตรูของต้นข้าว หนอนและตัวอ่อนของแมลงชนิดที่อยู่ในนํ้าและที่ร่วงหล่นลงไปในนาอันเป็นศัตรูร้ายแรงของต้นข้าว จะกลับเป็นอาหารวิเศษสุดของปลา



4. ปลาช่วยพรวนดินในนา จากการที่ปลาว่ายวนเวียนในนํ้ารอบๆ กอข้าวบนผืนนา การเคลื่อนไหวของครีบและหางปลาจะช่วยพัดโบกมวลดินในผืนนามิให้ทับอัดกันแน่น อันเป็นเสมือนการพรวนดินให้แก่ต้นข้าว ซึ่งจะช่วยทำ ให้ต้นข้าวเจริญงอกงามขึ้นกว่าปกติ


5. ปลาช่วยเพิ่มปุ๋ย มูลและสิ่งขับถ่ายจากปลาซึ่งประกอบด้วยธาตุไนโตรเจนและอื่นๆ จะเป็นปุ๋ยโดยตรงสำ หรับต้นข้าว


6. การเลี้ยงปลาในนาข้าว ช่วยเพิ่มผลผลิตข้าวให้สูงขึ้นกว่าการปลูกข้าวแต่เพียงอย่างเดียว


การเลือกสถานที่
ผืนนาทุกแห่งมิใช่จะเหมาะสมต่อการเลี้ยงปลาในนาเสมอไปการเลี้ยงปลาในนาข้าวจึงมักจะมีอุปสรรคอยู่เสมอ โดยเฉพาะในเรื่องนํ้า เช่นในบางท้องที่อาศัยเฉพาะนํ้าฝน หรือบางที่ชาวนาไม่สามารถรักษาระดับนํ้าในผืนนาไว้ได้ตลอดระยะเวลาที่ต้องการ ดังนั้น หากเพียงแต่นาที่จะเลี้ยงปลาสามารถเก็บกักนํ้าในผืนนาไว้ให้ได้มากกว่าปกติเพียงประมาณ 1-2 คืบ (30 เซนติเมตร) เป็นอย่างน้อย ตลอดฤดูกาลทำ นาและทั้งสามารถที่จะเลี้ยงปลาในนาได้ผลดี จึงควรที่จะยึดหลักในการเลือกผืนนาให้มีสภาพดังนี้

1. อยู่ใกล้แหล่งนํ้า หนอง บึง ลำ ราง ทางนํ้าไหลที่สามารถนำ นํ้าเข้าแปลงนาได้ แปลงนาที่อาศัยนํ้าฝนทำ นาแต่เพียงอย่างเดียวควรเก็บกักนํ้าได้ไม่น้อยกว่า 90 วัน

2. ไม่เป็นที่ลุ่มจนนํ้าท่วม หรือที่ดอนเกินไปจนไม่สามารถเก็บกักนํ้าได้

3. สะดวกต่อการดูแลรักษา

4. พื้นที่ที่ปลูกข้าวได้ผลดีจะสามารถดัดแปลงมาทำ การเลี้ยงปลาควบคู่กับการปลูกข้าวได้ดี
ขนาดของแปลงนาข้าวแปลงนาที่เลี้ยงปลาในนาข้าว จะมีขนาดและรูปร่างอย่างไรก็ได้ แล้วแต่ความเหมาะสมของพื้นที่และความพร้อมของผู้เลี้ยง แต่แปลงนาขนาดตั้งแต่ 5 ไร่ ขึ้นไปจะมีความเหมาะสมและให้ผลตอบแทนที่คุ้มค่า
การเตรียมแปลงนาข้าว
การเตรียมแปลงนาเพื่อใช้เลี้ยงปลาในผืนนาไปด้วยนั้น ควรเตรียมให้เสร็จก่อนระยะเตรียมดิน

ปลาช่อน4


ปลาช่อนทะเล.. (Cobia) ชื่อวิทยาศาสตร์ Rachycentrum canadum หรือที่รู้จักในชื่อ black kingfish , black salmon , ling, lemon fish , crab eaters , เป็นปลาที่มีหางแบบเว้าลึก (fork) หรือแบบเสี้ยวพระจันทร์ (lunate) ส่วนของครีบมีสีน้ำตาลเข้ม ไม่มีถุงลม ส่วนหัวแบน ตามีขนาดเล็ก ขากรรไกรล่างยื่นยาวกว่าขากรรไกรบนเล็กน้อย มีฟันแบบ villiform ( ปุ่มเล็กๆ ) อยู่บนขากรรไกร ลิ้น และเพดานปาก ลำตัวเรียบ
มีเกล็ดขนาดเล็กสีน้ำตาลเข้มแล้วจางเป็นสีขาวบริเวณส่วนท้องด้านข้างลำตัวมีแถบสีน้ำตาลเข้มเป็นแนวยาว2แถบ ซึ่งจะเห็นแถบได้ชัดในช่วงฤดูผสมพันธุ์วางไข่ ครีบหลังอันแรกเป็นหนามแหลมสั้น เรียงแยกกันเป็นอิสระ 6-9 อัน ก่อนหน้านี้... มีเกษตรกรบางรายนำมาเพาะเลี้ยงเพื่อจำหน่าย แต่เมื่อเกิดภัยพิบัติคลื่นยักษ์สึนามิพัดทำลายพื้นที่ภาคใต้แถวชายฝั่งทางตะวันตกของประเทศไทย ส่งผลให้เกษตรกรต้องเผชิญกับความเสียหาย
กรมประมงจึงได้หาวิธีการช่วยเหลือเกษตรกรและชาวประมง
และวิจัยโครงการ
นำร่องการเพาะเลี้ยงปลาช่อนทะเลในกระชังขนาดใหญ่ เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 16 เมตร
ซึ่งมีรัฐบาลนอร์เวย์ให้การสนับสนุน
ปรากฏว่าประสบผลสำเร็จในการเพาะเลี้ยงอย่างมาก กรมประมงจึงมีนโยบายที่จะส่งเสริมสนับสนุนให้เกษตรกรไทยเพาะเลี้ยงปลาช่อนทะเลเป็นการค้าต่อไป...
ปลาช่อนทะเล...เป็นปลาที่เจริญเติบโตได้รวดเร็วมากเมื่อเทียบกับปลาชนิดอื่น โดยในระยะเวลา 1 ปี สามารถเจริญเติบโตได้ประมาณ 5 - 7 กิโลกรัม อัตราการเจริญเติบโตของปลาขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ อาทิ ความหนาแน่น อาหาร ออกซิเจน ความเค็มของน้ำ เป็นต้น
ลักษณะเด่นของเนื้อปลาช่อนทะเล... มีเนื้อสีขาว เนื้อแน่น ไม่ยุ่ยเปื่อยง่าย สามารถนำมาเป็นวัตถุดิบในการประกอบอาหารได้หลากหลายชนิดทั้งเมนูไทย อาทิ ปลาช่อนทะเลทอดสมุนไพร ปลาช่อนทะเลห่มสไบ ปลาช่อนทะเลลวกจิ้ม ปลาช่อนทะเลทอดน้ำปลา และเมนูต่างประเทศ เช่น สเต๊กปลาช่อนทะเล ซาซิมิ
ซูชิหน้าปลาช่อนทะเลรมควัน โดยส่วนใหญ่ปลาช่อนทะเลมักนิยมแล่ขายเป็นปลาสด
ด้านคุณประโยชน์... ก็มีความหลากหลายทั้งสารอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย โปรตีนย่อยง่าย โอเมก้า 3 ที่ช่วยป้องกันการสะสมตัวของไขมันอิ่มตัวหรือคลอเลสเตอรอล กรดอะมิโน ที่จำเป็นต่อร่างกายหลายชนิด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ไลซีนและทรีโอนิน ซึ่งมีผลต่อพัฒนาการทางสมองและการเจริญเติบโตของเด็ก ทั้งยังมีส่วนช่วยให้นอนหลับสนิท สมองทำงานได้ดี ไม่แก่ก่อนวัยอีกด้วย
ความสำเร็จในการเพาะเลี้ยงปลาช่อนทะเลเชิงการค้แสดงถึงการทำงานอย่างทุ่มเทของนักวิชาการประมง กรมประมง และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทำให้เราได้รับความรู้และประสบการณ์ด้านการบริหาร และการจัดการฟาร์ม การจัดการสุขภาพ สัตว์น้ำของการเลี้ยงปลาในกระชังเพิ่มขึ้น ซึ่งสามารถขยายผลการเลี้ยงปลาในกระชังขนาดใหญ่ในทะเลให้กับเกษตรกรไทยและทำให้กิจกรรมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ...มีความยั่งยืนในอนาคตสืบไป..

ปลาช่อน1

การเลี่ยงปลาช่อน

การเพาะเลี้ยงปลาช่อน

ปลาช่อนเป็นปลาน้ำจืดที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจอีกชนิดหนึ่งของประเทศไทยอาศัยอยู่ในแหล่งน้ำจืดทั่วไป เช่น แม่น้ำ ลำคลอง หนอง บึง และทะเลสาบ มีชื่อสามัญ STRIPED ANAKE-HEAD FISH และมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Channa striatus ปลาช่อนเป็นปลาที่มีรสชาติดี ก้างน้อย สามารถนำมาประกอบอาหารได้หลายชนิด จึงทำให้การบริโภคปลาช่อนได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย แต่ปัจจุบันปริมาณปลาช่อนที่จับได้จากแหล่งน้ำธรรมชาติมีจำนวนลดน้อยลง เนื่องจากการทำประมงเกินศักยภาพการผลิตตลอดจนสภาพแวดล้อมของแหล่งน้ำเสื่อมโทรมตื้นเขิน ไม่เหมาะสมต่อการดำรงชีวิต ทำให้ปริมาณปลาช่อนในธรรมชาติไม่เพียงพอต่อการใช้ประโยชน์และความต้องการบริโภค การเลี้ยงปลาช่อนจึงเป็นแนวทางหนึ่งซึ่งจะช่วยแก้ปัญหาการขาดแคลนโดยนำลูกปลาที่รวบรวมได้จากแหล่งน้ำธรรมชาติและจากการเพาะขยายพันธุ์มาเลี้ยงให้เป็นปลาโตขนาดตลาดต้องการต่อไป

อุปนิสัย

โดยธรรมชาติปลาช่อนเป็นปลาประเภทกินเนื้อ กินสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ในน้ำ รวมทั้งปลาขนาดเล็กและแมลงในน้ำชนิดต่างๆ เป็นอาหารเมื่ออาหารขาดแคลน ปลาจะมีพฤติกรรมกินกันเองโดยปลาช่อนตัวใหญ่จะกินปลาตัวเล็ก

รูปร่างลักษณะ

ปลาช่อนเป็นปลาที่มีเกล็ด ลำตัวอ้วนกลม ยาวเรียว ท่อนหางแบนข้าง หัวแบนลง เกล็ดมีขนาดใหญ่ ปากกว้างมาก มีฟันซี่เล็กๆ อยู่บนขากรรไกรทั้งสองข้าง ครีบทุกครีบไม่มีก้านครีบแข็ง ครีบหลังและครีบก้นยาวจนเกือบถึงโคนหาง ครีบหางกลม ลำตัวส่วนหลังมีสีดำ ท้องสีขาว ด้านข้างลำตัวมีลายดำพาดเฉียง มีอวัยวะพิเศษช่วยในการหายใจ ปลาช่อนจึงสามารถเคลื่อนไหวไปบนบกหรือฝังตัวอยู่ในโคลนได้เป็นเวลานานๆ

การผสมพันธุ์วางไข่

ปลาช่อนสามารถวางไข่ได้เกือบตลอดปี สำหรับฤดูกาลผสมพันธุ์วางไข่จะเริ่มตั้งแต่ เดือนมีนาคม ตุลาคม ช่วงที่มีความพร้อมที่สุดคือเดือนมิถุนายน กรกฎาคม
ในฤดูวางไข่ จะสังเกตความแตกต่างระหว่างปลาเพศผู้กับเพศเมียอย่างเห็นได้ชัดคือ ปลาเพศเมีย ลักษณะท้องจะอูมเป่ง ช่องเพศขยายใหญ่ มีสีชมพูปนแดง ครีบท้องกว้างสั้น ส่วนปลาเพศผู้ ลำตัวมีสีเข้มใต้คางจะมีสีขาว ลำตัวยาวเรียวกว่าปลาเพศเมีย
ตามธรรมชาติปลาช่อนจะสร้างรังวางไข่ในแหล่งน้ำนิ่งความลึกของน้ำประมาณ 30 –100 เซนติเมตร โดยปลาตัวผู้จะเป็นผู้สร้างรังด้วยการกัดหญ้าหรือพรรณไม้น้ำ และใช้หางโบกพัดตลอดเวลาเพื่อที่จะทำให้พื้นที่เป็นรูปวงกลม เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 30 –40 เซนติเมตร ปลาจะกัดหญ้าที่บริเวณกลางของรัง ส่วนพื้นดินใต้น้ำ ปลาก็จะตีแปลงจนเรียบ หลังจากที่ปลาช่อนได้ผสมพันธุ์วางไข่แล้ว พ่อแม่ปลาจะคอยรักษาไข่อยู่ใกล้ๆ เพื่อมิให้ปลาหรือศัตรูอื่นเข้ามากินจนกระทั่งไข่ฟักออกเป็นตัว ในช่วงนี้พ่อแม่ปลาก็ยังให้การดูแลลูกปลาวัยอ่อน เมื่อลูกปลามีขนาด 2 – 3 เซนติเมตร จึงแยกตัวออกไปหากินตามลำพังได้ ซึ่งระยะนี้เรียกว่า ลูกครอก หรือลูกชักครอก ลูกปลาขนาดดังกล่าวน้ำหนักเฉลี่ย 0.5 กรัม ปลา 1 กิโลกรัมจะมีลูกครอก ประมาณ 2,000 ตัว ลูกครอกระยะนี้จะมีเกษตรกรผู้รวบรวมลูกปลาจากแหล่งน้ำธรรมชาติเป็นอาชีพนำมาจำหน่ายให้แก่ผู้เลี้ยงปลาอีกต่อหนึ่งในราคากิโลกรัมละ 70 – 100 บาท ซึ่งรวบรวมได้มากในระหว่างเดือนมิถุนายน ธันวาคม

การคัดเลือกพ่อแม่พันธุ์

ปลาช่อนที่นำมาใช้เป็นพ่อแม่พันธุ์ควรเป็นปลาที่มีรูปร่าง ลักษณะสมบูรณ์ ไม่บอบช้ำและมีน้ำหนักตั้งแต่ 800 – 1,000 กรัมขึ้นไป และอายุ 1 ปีขึ้นไป
ลักษณะแม่พันธุ์และพ่อพันธุ์ปลาช่อนที่ดีซึ่งเหมาะสมจะนำมาใช้ในการเพาะพันธุ์ แม่พันธุ์ควรมีส่วนท้องอูมเล็กน้อย ลักษณะติ่งเพศมีสีแดงหรือสีชมพูอมแดง ถ้าเอามือบีบเบาๆที่ท้องจะมีไข่ไหลออกมามีลักษณะกลมสีเหลืองอ่อน ใส ส่วนพ่อพันธุ์ติ่งเพศควรจะมีสีชมพูเรื่อๆปลาไม่ควรจะมีรูปร่างอ้วนหรือผอมมากเกินไป เป็นปลาขนาดน้ำหนัก 800 – 1,000 กรัม

การเพาะพันธุ์ปลาช่อน

ปลาช่อนเป็นปลาน้ำจืดอีกชนิดหนึ่งที่ประชาชนนิยมบริโภค ทำให้ปริมาณปลาในแหล่งน้ำธรรมชาติมีจำนวนไม่เพียงพอต่อความต้องการของตลาด สำหรับเกษตรกรนิยมเลี้ยงปลาช่อน เนื่องจากเป็นปลาที่มีอัตราการเจริญเติบโตรวดเร็ว ทนทานต่อโรคและสามารถปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมได้ดี ทั้งนี้ ลูกปลาช่อนที่เกษตรกรรวบรวมได้จากแหล่งน้ำธรรมชาติมีปริมาณไม่เพียงพอต่อความต้องการของเกษตรกรผู้เลี้ยงปลาช่อนดังนั้นการเพาะพันธุ์ปลาจึงเป็นแนวทางหนึ่งในการเพิ่มผลผลิตพันธุ์ปลาช่อน
ในการเพาะพันธุ์ปลาช่อนต้องคัดเลือกพ่อพันธุ์แม่พันธุ์ปลาช่อนที่มีความสมบูรณ์ ซึ่งจะมีอายุ 1ปีขึ้นไป ขนาดน้ำหนัก 800 – 1,000 กรัม บ่อเพาะพันธุ์ควรมีระดับความลึกของน้ำประมาณ 1.0 – 1.5 เมตร และมีการถ่ายเทน้ำบ่อยๆ เพื่อกระตุ้นให้ปลากินอาหารได้ดี มีการพัฒนาระบบสืบพันธุ์ให้สมบูรณ์ ซึ่งจะทำให้พ่อแม่พันธุ์ปลาช่อนมีน้ำเชื้อและไข่ที่มีคุณภาพดียิ่งขึ้น
การเพาะพันธุ์ปลาช่อน ทำได้ 2 วิธี คือ
1. การเพาะพันธุ์โดยวิธีเลียนแบบธรรมชาติ วิธีนี้ควรใช้บ่อเพาะพันธุ์เป็นบ่อดินขนาด 0.5 – 1.0 ไร่ พร้อมทั้งจัดสภาพสิ่งแวดล้อมเลียนแบบธรรมชาติ โดยปล่อยพ่อแม่พันธุ์ในอัตรา 1:1 ให้ปลาเป็ดผสมรำเป็นอาหารในปริมาณ 2.5 – 3.0 เปอร์เซ็นต์ของน้ำหนักปลา
2. การเพาะพันธุ์โดยวิธีการผสมเทียมด้วยฮอร์โมนสังเคราะห์
สถานีประมงน้ำจืดจังหวัดสิงห์บุรี ดำเนินการเพาะพันธุ์ปลาช่อนด้วยวิธีผสมเทียมโดยใช่ฮอร์โมน
สังเคราะห์ฉีดเร่งให้แม่ปลาช่อนวางไข่เพื่อที่จะรีดไข่ผสมกับน้ำเชื้อหรือปล่อยให้ผสมพันธุ์กันเองตามธรรมชาติฮอร์โมนสังเคราะห์ที่ใช้ได้แก่
LHRHa หรือ LRH – a โดยใช้ร่วมกับโดมเพอริโดน (Domperidone)
การฉีดฮอร์โมนผสมเทียมปลาช่อนโดยใช้ฮอร์โมนสังเคราะห์สามารถฉีดเร่งให้แม่ปลาช่อนวางไข่นั้น ด้วยการฉีดเพียงครั้งเดียวที่ระดับความเข้มข้น 30 ไมโครกรัมต่อน้ำหนักแม่ปลา 1 กิโลกรัม ร่วมกับโดมเพอริโดน 10 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักแม่ปลา 1 กิโลกรัม ส่วนพ่อพันธุ์ใช้ฮอร์โมนสังเคราะห์ที่ระดับความเข้มข้น 15 ไมโครกรัมต่อน้ำหนักพ่อปลา 1 กิโลกรัมร่วมกับโดมเพอริโดน
5 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักพ่อปลา 1 กิโลกรัม จากนั้นประมาณ 8–10 ชั่วโมง สามารถรีดไข่ผสมกับน้ำเชื้อได้เนื่องจากไข่ปลาช่อนมีไขมันมากเมื่อทำการผสม
เทียมจึงต้องล้างน้ำหลายๆครั้ง เพื่อขจัดคราบไขมัน นำไข่ไปฟักในถังไฟเบอร์กลาสขนาด
2 ตัน ภายในถังเพิ่มออกชิเจนผ่านหัวทรายโดยเปิดเบาๆ ในกรณีที่ปล่อยให้พ่อแม่ปลาผสมพันธุ์กันเอง หลังจากที่แม่ปลาวางไข่แล้วต้องแยกไข่ไปฟักต่างหากเช่นกัน

การฟักไข่

ไข่ปลาช่อนมีลักษณะกลมเล็ก เป็นไข่ลอย มีไขมันมาก ไข่ที่ดีมีสีเหลือง ใส ส่วนไข่เสียจะทึบ ไข่ปลาช่อนฟักเป็นตัวภายในเวลา 30 –35 ชั่วโมง ที่อุณหภูมิของน้ำ 27 องศาเซลเซียส ความเป็นกรด - ด่าง 7.8 ความกระด้าง 56 ส่วนต่อล้าน

การอนุบาลลูกปลาช่อน

ลูกปลาที่ฟักออกมาเป็นตัวใหม่ๆ ลำตัวมีสีดำ มีถุงไข่แดงสีเหลืองใสปลาจะลอยตัวในลักษณะหงายท้องขึ้นอยู่บริเวณผิวน้ำ ลอยอยู่นิ่งๆไม่ค่อยเคลื่อนไหว หลังจากนั้น 2 – 3 วันจึงพลิกตัวกลับลง และว่ายไปมาตราปกติโดยว่ายรวมกันเป็นกลุ่มบริเวณผิวน้ำ
ลูกปลาช่อนที่ฟักออกมาเป็นตัวใหม่ๆใช้อาหารในถุงไข่แดงที่ติดมากับตัว เมื่อถุงไข่แดงยุบ วันที่ 4 จึงเริ่มให้อาหารโดยใช้ไข่แดงต้มสุกบดละลายกับน้ำผ่านผ้าขาวบางละเอียดให้ลูกปลากินวันละ 3 ครั้ง เมื่อลูกปลามีอายุย่างเข้าวันที่ 6 จึงให้ไรแดงเป็นอาหารอีก 2 สัปดาห์ และฝึกให้อาหารเสริม เช่น ปลาป่น เนื้อปลาสดบด โดยใส่อาหารในแท่นรับอาหารรูปสี่เหลี่ยมซึ่งมีทุ่นผูกติดอยู่ ถ้าให้อาหารไม่เพียงพออัตราการเจริญเติบโตของลูกปลาจะแตกต่างกัน และพฤติกรรมการกินกันเอง ทำให้ตราการรอดตายต่ำจึงต้องคัดขนาดลูกปลา การอนุบาลลูกปลาช่อนโดยทั่วไปจะมีอัตราการรอดประมาณ 70 เปอร์เซ็นต์และควรเปลี่ยนถ่ายน้ำทุกวันๆละ 50 เปอร์เซ็นต์ของปริมาณน้ำ

การเตรียมบ่อเลี้ยงปลา

การเลี้ยงปลาช่อนเพื่อให้ได้ขนาดตามที่ตลาดต้องการนั้น นิยมเลี้ยงในบ่อดิน ซึ่งมีหลักการเตรียมบ่อดินเหมือนกับการเตรียมบ่อเลี้ยงปลาทั่วๆไป ดังนี้
1. ตากบ่อให้แห้ง
2. ใส่ปูนขาวเพื่อปรับสภาพดิน ในอัตราประมาณ 60 – 100 กิโลกรัม / ไร่ ทิ้งไว้ประมาณ 5 – 7 วัน
3. ใส่ปุ๋ยคอกเพื่อให้เกิดอาหารธรรมชาติสำหรับลูกปลา ในอัตราประมาณ 40 – 80 กิโลกรัม/ไร่
4. สูบน้ำเข้าบ่อโดยกรองน้ำเพื่อไม่ให้ศัตรูของลูกปลาติดเข้ามากับน้ำ จนกระทั่งมีระดับน้ำลึก 30–40 เซนติเมตร ระยะไว้ 1 – 2 วันจึงปล่อยลูกปลา ลูกปลาจะได้มีอาหารกินหลังจากที่ได้เตรียมอาหารธรรมชาติในบ่อ (ข้อ 3) เรียบร้อยแล้ว
5. ก่อนปล่อยลูกปลาลงบ่อเลี้ยงจะต้องปรับสภาพอุณหภูมิของน้ำ ในภาชนะลำเลียงและบ่อให้ใกล้เคียงกัน สำหรับช่วงเวลาที่เหมาะสมในการปล่อยลูกปลาควรเป็นตอนเย็นหรือตอนเช้า
ปลาช่อนเป็นปลากินเนื้อ อาหารที่ใช้เลี้ยงปลาช่อนเป็นอาหารที่มีโปรตีนสูง โดยทั่วไปเกษตรกรนิยมเลี้ยงด้วยปลาเป็ด
1. อัตราการปล่อยปลา ลูกปลาขนาด 8 – 10 เซนติเมตร น้ำหนักตัว 3035 ตัว / กิโลกรัม ควรปล่อยในอัตรา 40-50 ตัว/ตารางเมตร และเพื่อป้องกันโรคซึ่งอาจจะติดมากับลูกปลา ให้ใช้น้ำยาฟอร์มาลินใส่ในบ่อเลี้ยงอัตราความเข้มข้นประมาณ 30 ส่วนในล้าน (3 ลิตร / น้ำ 100 ตัน) ในวันแรกที่จะปล่อยลูกปลาไม่จำเป็นต้องให้อาหาร ควรเริ่มให้อาหารในวันรุ่งขึ้น
2. การให้อาหาร เมื่อปล่อยลูกปลาช่อนลงในบ่อดินแล้ว อาหารที่ให้ในช่วงลูกปลาช่อนมีขนาดเล็ก คือ ปลาเป็ดผสมรำในอัตราส่วน 4 : 1 หรืออัตราส่วนปลาเป็ด 40 เปอร์เซ็นต์ รำ 30 เปอร์เซ็นต์ หัวอาหาร 30 เปอร์เซ็นต์ ปริมาณอาหารที่ให้ไม่ควรเกิน 4 – 5 เปอร์เซ็นต์ของน้ำหนักตัวปลา วางอาหารไว้บนตะแกรงหรือภาชนะแบนลอยไว้ใต้ผิวน้ำ 2 – 3 เซนติเมตร ควรวางไว้หลายๆจุด
3. การถ่ายเทน้ำ ช่วงแรกความลึกของน้ำในบ่อควรอยู่ที่ระดับ 30 – 40 เซนติเมตร แล้วค่อยๆเพิ่มระดับน้ำ สัปดาห์ละ 10 เซนติเมตร จนได้ระดับ 50 เซนติเมตร จึงถ่ายน้ำวันละครั้ง หลังจากอนุบาลลูกปลาในบ่อดินประมาณ 2 เดือน ปลาจะเติบโตไม่เท่ากัน ใช้อวนลากลูกปลาเพื่อคัดขนาด มิฉะนั้นปลาขนาดใหญ่จะกินปลาขนาดเล็ก
4. ผลผลิต หลังจากอนุบาลปลาในช่วง 2 เดือนแล้ว ต้องใช้เวลาเลี้ยงอีกประมาณ 4 – 5 เดือน จะให้ผลผลิต 1 – 2 ตัว/กิโลกรัม เช่นเนื้อที่ 2 ไร่ 2 งาน จะได้ผลผลิตมากกว่า 6,000 กิโลกรัม
5. การจับ เมื่อปลาโตได้ขนาดตลาดต้องการจึงจับจำหน่าย ก่อนจับปลาควรงดอาหาร 1 – 2 วัน
6. การป้องกันโรค โรคของปลาช่อนที่เลี้ยงมักจะเกิดจากปัญหา คุณภาพของน้ำในบ่อเลี้ยงไม่ดี ซึ่งสาเหตุเกิดจากการให้อาหารมากเกินไปจนอาหารเหลือเน่าเสีย เราสามารถป้องกันไม่ให้เกิดโรคได้ โดยการหมั่นสังเกตว่าเมื่อปลาหยุดกินอาหารจะต้องหยุดการให้อาหารทันที

ผลผลิต

ช่วงเวลาในการเลี้ยงปลาช่อนประมาณ 8 – 9 เดือน สำหรับปลาลูกครอก ส่วนปลาช่อนที่เริ่มเลี้ยงจากขนาดปลารุ่น 20 ตัว / กิโลกรัม ถึงขนาดตลาดต้องการ ใช้เวลาเลี้ยงอีก 5 เดือน น้ำหนักจะอยู่ระหว่าง 0.6 – 1.0 กิโลกรัม โดยทั่วไปน้ำหนักปลาที่ตลาดต้องการขนาด 0.5 – 0.7 กิโลกรัม สำหรับอัตราแลกเนื้อประมาณ 5 – 6 : 1 กิโลกรัม ผลผลิต 12 ตัน/ไร่
สำหรับปลาผอมและเติบโตช้า เกษตรกรเลี้ยงปลาช่อนเรียกว่า ปลาดาบ
นอกจากนี้น้ำที่ระบายออกจากบ่อปลาช่อน ควรนำไปใช้ประโยชน์เพื่อเลี้ยงปลากินพืช เช่น ปลาบึก ปลานิล ฯลฯ

การลำเลียง

ใช้ลังไม้รูปสี่เหลียมผืนผ้าภายในกรุสังกะสีกว้าง 58 เซนติเมตร ยาว 94 เซนติเมตร ความสูง 38 เซนติเมตร จุปลาได้ 50 กิโลกรัม สามารถขนส่งโดยรถยนต์บรรจุไปทั่วประเทศ จังหวัดสุพรรณบุรีจัดว่าเป็น
แหล่งเลี้ยงและส่งจำหน่ายปลาช่อนอับดับหนึ่งของประเทศโดยส่งไปยังภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือมากกว่าภาคอื่นๆ สำหรับภาควันออกเฉียงเหนือต้องการปลาน้ำหนัก
300 – 400 กรัม และ 700 – 800 กรัม ส่วนภาคเหนือต้องการปลาน้ำหนักมากกว่า 300 – 400 กรัม และ มากกว่า 500 กรัมขึ้นไป

โรคปลาและการป้องกัน

โรคพยาธิและอาการของปลาช่อนส่วนใหญ่ได้แก่
1. โรคที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย คือ แอโรโมนาส โฮโดรฟิลา เฟลคซิแบคเตอร์ คอลัมนาริส และไมโครแบคทีเรียม อาการของโรคโดยทั่วไปที่พบ ได้แก่ ผิวหนังบริเวณเกล็ดเกิดแผลที่มีลักษณะช้ำเป็นจุดแดงๆ สีลำตัวซีดหรือด่างขาว เมือกมากผิดปรกติ เกล็ดหลุด แผลเน่าเปื่อย ว่ายน้ำผิดปรกติ เสียการทรงตัวหรือตะแคงข้าง เอาตัวซุกขอบบ่อ ครีบเปื่อยแหว่งตาฟางหรือตาขุ่นขาว ตาบอด ปลาจะกินอาหารน้อยลง
2. โรคที่เกิดจากพยาธิภายนอก อาทิ เห็บระฆัง ปลิงใส ฯลฯ พยาธิเห็บระฆังจะทำให้เกิดอาการระคายเคือง เป็นแผลขนาดเล็กตามผิวตัวและเหงือก การรักษาใช้ฟอร์มาลิน 150-200 ลิตร ต่อน้ำ1,000 ลิตรแช่ประมาณ 24 ชั่วโมง รือ 25-50 ซีซี. ต่อน้ำ 1,000 ลิตร แช่ประมาณ 24 ชั่วโมง

วิธีป้องกันโรค

ในฟาร์มที่มีการจัดการที่ดีจะไม่ค่อยประสบปัญหาปลาเป็นโรคแต่ในฟาร์มที่มีการจัดการไม่ดี ปัญหาปลาเป็นโรคตายมักจะเกิดขึ้นเสมอบางครั้งปลาอาจตายในระหว่างการเลี้ยงสูงถึง 60 –70 เปอร์เซ็นต์ ประกอบกับปลาเป็ดที่นำมาใช้เลี้ยงในปัจจุบันคุณภาพมักจะไม่สดเท่าที่ควรและหากมีเศษอาหารเหลือตกค้างในบ่อจะทำให้บ่อเกิดการเน่าเสียเป็นเหตุให้ปลาตาย ดังนั้นจึงควรมีวิธีป้องกันดังนี้คือ
1. ควรเตรียมบ่อและน้ำตามวิธีการที่เหมาะสมและปลอดภัยก่อนปล่อยลูกปลา
2. ซื้อพันธุ์ปลาที่มีสุขภาพแข็งแรงและปราศจากโรค
3. หมั่นตรวจดูอาการของปลาอย่างสม่ำเสมอ ถ้าเห็นอาการผิดปรกติต้องรีบหาสาเหตุและแก้ไขโดยเร็ว
4. หลังจากปล่อยปลาลงเลี้ยงแล้ว 3 – 4 วัน ควรราดน้ำยาฟอร์มาลิน 2 – 3 ลิตรต่อปริมาณ/ปริมาตรน้ำ 100 ตัน และหากปลาที่เลี้ยงเกิดโรคพยาธิภายนอกให้แก้ไขโดยสาดน้ำยาฟอร์มาลินในอัตรา 4 – 5 ลิตรต่อปริมาณ/ปริมาตรน้ำ 100 ตัน (การใช้น้ำยาฟอร์มาลินควรระวังเรื่องปริมาณออกซิเจนในน้ำ ถ้าต่ำมากควรมีการให้อากาศด้วย)
5. เปลี่ยนถ่ายน้ำจากระดับพื้นบ่ออย่างสม่ำเสมอ
6. อย่าให้อาหารมากเกินความต้องการของปลา
ต้นทุนการผลิต
1. ต้นทุนผันแปร
- ค่าพันธุ์ปลาที่อัตราการปล่อย 2,000 กิโลกรัม/ไร่ ราคากิโลกรัมละ 45 บาท เป็นเงิน 90,000 บาท
- ค่าอาหารที่อัตราผลผลิตเฉลี่ย 7 ตัน/ ไร่ และอัตราแลกเนื้อ(5:1) ราคาอาหารกิโลกรัมละ 6 – 7 บาท เป็นเงิน 210,000 – 250,000 บาท/ ไร่
- ค่าปูนขาว อัตรา 100 กิโลกรัม / ไร่ เป็นเงิน 120 บาท / ไร่
- ค่ายาและสารเคมี 1,000 บาท / ไร่
- ค่าน้ำมันเชื้อเพลิง 1,000 – 1,200 บาท / ไร่
2. ต้นทุนคงที่
- ค่าขุดบ่อ 5,000 บาท / ไร่
- ค่าก่อคอนกรีตผนังบ่อ 40,000 บาท / ไร่

แนวโน้มด้านการตลาด

ปลาช่อนเป็นปลาที่มีรสชาติดีอีกทั้งยัง สามารถนำไปประกอบอาหารได้หลายรูปแบบ จึงมีผู้นิยมบริโภคอย่างแพร่หลายทำให้แนวโน้มด้านการตลาดดี สามารถส่งผลผลิตและผลิตภัณฑ์ไปสู่ตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศได้

ปัญหาอุปสรรค

1. เนื่องจากปลาช่อนเป็นปลากินเนื้อและกินจุ จำเป็นต้องมีปริมาณน้ำเพียงพอเพื่อเปลี่ยนถ่ายน้ำในช่วงการเลี้ยง
2. ต้นทุนอาหารการเลี้ยงปลาส่วนใหญ่หากใช้ปลาทะเลเป็นหลักซึ่งมีราคาสูงขึ้นก็จะมีผลทำให้ต้นทุนการผลิตปลาช่อนสูงขึ้นตามไปด้วย

ปลาช่อน2

        ปลาช่อนสีทอง
แห่ขอหวยยักษ์ ปลาช่อนทอง หลังให้โชคถูกยกหมู่บ้านสกลนคร    
วันที่ 16 พ.ค. ผู้สื่อข่าว ข่าวสด รายงานบรรยากาศวันหวยออก จาก จ.สกลนครว่า ที่บริเวณวัดยอดลำธาร บ้านนาแก้ว ตงนาแก้ว อ.โพนนาแก้ว จ.สกลนคร ยังมีชาวบ้านทยอยเดินทางนำเครื่องเช่นไหว้ ทั้งของหวานคาวมา เพื่อขอหวยจากยักษ์ หลังจากที่มีข่าวว่ามีชาวบ้านมาไหว้แล้ว มีโชคลาภถูกลอตเตอรี่ รางวัลที่ 1 งวดที่ผ่านมา
โดยพระครูอัครธรรมพิศาล เจ้าอาวาสวัดยอดลำธาร เผยว่า ในช่วงนี้กว่า 3 เดือนที่ผ่านมา พบว่าทุกวันจะมีชาวบ้านเดินทางมาที่วัดกันจำนวนมาก โดยมาทำพิธีไหว้ยักษ์ ผัวเมียที่อยู่หน้าอุโบสถหลังเก่าแก่ ที่สร้างตั้งแต่ รศ. 109 และเชื่อว่ามาไหว้แล้วได้โชค ซึ่งที่ผ่านมามีคนในหมู่บ้านแต่ไปทำงานที่กรุงเทพ กลับบ้านมาไหว้ แล้วไปซื้อลอตเตอรี่ ปรากฏว่าถูกรางวัลที่ 1 หนึ่งใบ อยู่ที่กรุงเทพฯ และได้มาทำบุญแก้บนแล้ว ทำให้ชาวบ้านที่ทราบข่างต่างมาขอพรกันมาก
และงวดที่ผ่านมามีชาวบ้านเดินทางมาไหว้ แล้วนำตัวเลขที่สร้าง อุโบสถ ร.ศ.107 -109 ไปซื้อหวยปรากฎว่าเลขท้ายสองตัวล่างออก 07 ถูกกันถ้วนหน้าดังนั้นทุกวันจะเดินทางมาไหว้และแก้บนกันตลอดวัน ทำให้บริเวณวัดคึกคักยิ่งวันหวยออกจะมีชาวบ้านมากันมาก ทำให้พ่อค้าแม่ค้าในหมู่บ้านนำสินค้ามาขายหารายได้ด้วย ซึ่งงวดนี้ชาวบ้านบอกมีคนมาไหว้แล้วได้ตัวเลขไปแล้ว แต่ไม่ทราบว่าเป็นเลขอะไร ซึ่งทางวัดไม่ได้แนะนำในการเล่นหวย แต่ขอให้ดูและเชื่ออย่างมีสติก็พอ
ผู้สื่อข่าวรายงานอีกว่า สำหรับที่ บ้านเลขที่ 102 หมู่ ทึ่ 7 บ้านดอนตาลโง๊ะ ต.ฮางโฮง อ.เมืองสกลนคร เจ้าของปลาช่อนทอง ยังมีชาวบ้านทยอยเดินทางไปจุดธูปเทียนเพื่อดูหวยจากตัวปลาซ่อนทอง ที่นายปรีญา ศรีคราม อายุ 46 ปี ที่มีอาชีพหาจับปลาในหนองหารขาย และเมื่อประมาณ 1 เดือนที่ผ่านมา นายปรีญา ได้ดักเบ็ดในหนองหารและได้ปลาช่อนติดเบ็ดมา หนึ่งตัว ขนาดความยาว 8 นิ้ว และหนัก ประมาณ 500 กรัม แต่ที่ฮือฮาพบว่าปลาซ่อนดังกล่าวมีสีทองทั้งตัว จึงนำมาเลี้ยงไว้เพราะเชื่อว่าเป็นปลาให้โชค โดยไม่ยอมบอกใครต่อมา ชาวบ้านทราบข่าว มาขอดู และมองจุดตามตัวปลา และเห็นตัวเลข 07 และบางราย นำตวามยาวและน้ำหนักปลาไปซื้อหวย งวดที่ผ่านมาปรากฏว่า รางวัลเลขท้ายสองตัว 07 และเลขท้ายรางวัลที่ 458 ตรงๆ ทำให้ถูกหวยกันยกหมู่บ้านมาแล้ว
ต่อมาก็มีชาวบ้าน เชื่อว่าปลาช่อนทองน่าจะให้โชคอีกจึงเดินทางทยอยกันมาขอดูปลาช่อนพร้อมกับจุดธูปเทียนขอหวย เพราะเชื่อว่างวดนี้ปลาช่อนต้องให้โชคอีกแน่นนอน
นายจันทร์แรม สุขขะชัยะ ชาวบ้านดอนตาลโง๊ะ เผยว่า เมื่องวดที่ผ่านมา มีชาวบ้านถูกหวยกันมาก รวมทั้งตนด้วย คนละหลายพันบาทบางรายถึงแสนบาท งวดนี้มีนางลัดดา คนในหมู่บ้านฝันว่ามีชายรูปร่างหน้าตาดี แต่งตัวด้วยชุดคนโบราณนุ่งโจงกระเบน เข้ามาหาบอกว่า เป็นเทพที่รักษาอยู่ในหนองหาร และต้องการมาช่วยชาวบ้าน เพื่อพัฒนาบ้านเมือง หากใครอยากเห็นให้ไปดู จากนั้นจึงเดินไปทางบ้านนายปรีญา และก้าวขาเดินลงไปในถังน้ำแล้วหายไป
จึงเชื่อว่าน่าจะเป็นปลาทองดังกล่าว ตื่นเช้าจึงไปจุดธูปเทียนขอพรโชคลาภหากเป็นตามที่ฝันขอให้เห็นตัวเลขที่ปลาด้วย จึงได้ใช้มือช้อนปลาขึ้นมาดู พบว่ามี เลข 880 - 881 อยู่ที่ข้างตัวปลา จึงคิดว่าน่าจะได้โชคแน่ จึงนำตัวเลขไปหาซื้อลอตเตอรี่ไว้ อย่างละใบ และเชื่อว่าน่าจะถูก ซึ่งเพื่อนบ้านต่างก็นำไปเป็นตัวเลขเด็ดในงวดนี้
ที่บริเวณริมถนนสายสกลนคร - อุดรธานี ระหว่างบ้านพาน - บ้านดงมะไฟ ต.ขมิ้น อ.เมืองสกลนคร ซึ่งเป็นที่ชาวบ้านเชื่อว่าเป็นดินแดนศักดิ์สิทธิมีต้นยาง ต้นกระบากขนาดใหญ่ กว่า 50 ต้น ขึ้นจำนวนมาก มีชาวบ้านนำศาลพระภูมิ และเครื่องเซ่นไหว้ต่างเดินทางมาขูดต้นไม้เพื่อขอหวย หลังจากมีเสียงร่ำลือว่ามีคนมาขูดต้นไม่ในนั้นแล้วเห็นตัวเลข นำไปซื้อหวยถูกหลายงวดมาแล้ว ในช่วงเช้ามีชาวบ้านเดินทางนำสิ่งของมาไหว้เพื่อขอโชคลาภเช่นกัน
รับผลสลากกินแบ่งรัฐบาล ตรวจสลากกินแบ่งรัฐบาล ตรวจหวย หวย Free คลิก !!


ปลาช่อน3


การเพาะเลี้ยง ปลาช่อนอเมซอน


ปลาช่อนอเมซอน เป็นปลากินเนื้อที่เจริญเติบโตได้เร็วมาก เมื่อ ปลาช่อนอเมซอน มีอายุได้ประมาณ 4-5 ปี ก็จะถึงวัยสืบพันธุ์ การสังเกตเพศผู้เพศเมียของ ปลาช่อนอเมซอน ถ้าดูจากภายนอกจะดูยาก แต่สามารถดูในฤดูผสมพันธุ์คือช่วงเดือนธันวาคมถึงพฤษภาคม ปลาช่อนอเมซอน เพศเมียที่มีไข่บริเวณท้องจะขยายใหญ่ สามารถมองเห็นได้ชัดเจน ส่วนเพศผู้หัวและลำตัวจะมีสีเข้มและสีแดงอมส้มแถบโคนหาง

ทั้งนี้ ปลาช่อนอเมซอน ตัวเมียจะวางไข่ในเดือนมกราคมถึงมีนาคม มันจะสร้างรังใต้น้ำลึกประมาณ 40-50 ซม. ตัวเมีย 1 ตัววางไข่ได้ประมาณ 100,000 ฟอง และจะใช้เวลาประมาณ 5 วันในการฟักออกเป็นตัว เมื่อฟักไข่แล้ว แม่ปลาก็จะดูแลตัวอ่อนไว้ในปาก ส่วนตัวผู้ก็จะช่วยกันดูแลและป้องกันอันตรายจนกว่าลูกปลาจะเจริญเติบโตและช่วยตัวเองได้
อาหารและการเลี้ยง ปลาช่อนอเมซอน
ในธรรมชาติ ปลาช่อนอเมซอน จะอาศัยอยู่ในลุ่มน้ำอเมซอน มันจะกระโดดขึ้นมากินนกที่เกาะอยู่บนต้นไม้เตี้ย ๆ ในตู้ปลาอาหารหลักของปลาอะราไพม่าคือ ปลาสดโดยเฉพาะปลาเป็น ๆ เช่น ปลานิล, ปลากัด, ปลาทอง, ลูกกบ หรือไม่ก็เนื้อหมู, เนื้อไก่ เนื้อปลาก็ได้ สำหรับผู้เลี้ยงนิยมใช้ปลาทองที่พิการมีการซื้อขายกันในราคาถูก ในระยะแรกก็กินน้อย วันละ 3-5 ตัว ต่อมาเมื่อปลาโตขึ้นก็กินมากขึ้น

จากความน่าสนใจของ ปลาช่อนอเมซอน ดังที่กล่าวมาข้างต้น ทำให้มีผู้เลี้ยงปลาชนิดนี้กันมาก ราคาซื้อขายสำหรับปลาขนาด 5-6 นิ้ว ตกราคาตัวละไม่ต่ำกว่า 5,000 บาท ยิ่งเป็นปลาระดับความยาวเกิน 12 นิ้วขึ้นไป ราคาไม่ต่ำกว่า 10,000 บาท ผู้เลี้ยงปลามักจะสร้างตู้กระจกขนาดใหญ่เพื่อใส่ ปลาช่อนอเมซอน อาจจะเลี้ยงเพียงตัวเดียวหรือจะเลี้ยงรวมกับปลาอะโรวาน่าก็ได้




ปลาช่อนอเมซอน นิยมเลี้ยงไว้เป็นปลาสวยงามในบ้านเรามานานกว่าสิบปีแล้ว ที่ผ่านมาพบว่า ถึงแม้ ปลาช่อนอเมซอน จะเป็นปลาขนาดใหญ่ที่มีความทนทานต่อสภาพแวดล้อมได้ดี แต่ยังมีข้อด้อยบางประการของ ปลาช่อนอเมซอน ที่ควรจะต้องระวังก็คือ หากเลี้ยงในตู้กระจกหรือบ่อปูนควรมีระบบกรองน้ำที่ดีและระบบเพิ่มอากาศให้เหมาะสมกับขนาดของจำนวนปลา หากน้ำเสียหรือขาดออกซิเจนเพียงระยะเวลาสั้น ๆ ก็จะทำให้ ปลาช่อนอเมซอน ตายได้ทันที
ดังนั้น การเลี้ยง ปลาช่อนอเมซอน จึงควรเลี้ยงในที่กว้าง ให้อาหารในปริมาณที่พอเหมาะและควรให้อาหารที่สด ถ้าตู้ปลาเล็กเกินไปปลาจะแสดงออกโดยการว่ายแบบกระวนกระวาย ชนตู้ โดดออกมาหรือไม่ก็หงอยลง ๆ ซึมเศร้า ไม่กินอาหาร จนกระทั่งตายไปเฉย ๆ อย่างไรก็ตาม ปลาช่อนอเมซอน ขนาดใหญ่สามารถฝึกให้กินอาหารเม็ดได้ และหากเลี้ยงในบ่อดินขนาดใหญ่ ปลาช่อนอเมซอน ก็สามารถปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมได้เป็นอย่างดี สัตว์จำพวกกบ เขียด และปลาตัวเล็ก ๆ ที่อาศัยอยู่ในบ่อก็จะกลายเป็นอาหารของปลาชนิดนี้ไป ซึ่งจะขยันหากินทั้งเวลากลางวันและกลางคืน


ขอขอบคุณข้อมูลจาก
สถาบันวิจัยการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง กรมประมง
ขอขอบคุณภาพประกอบจาก en.wikipedia.org